ชนิดของแผ่น (plate) ของ hotplate มีอะไรบ้าง?
1.แผ่นเซรามิก (Ceramic Plate) มีการนำความร้อนได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ไม่เร็วเท่าแผ่นอลูมิเนียมหรือแผ่นเหล็กหล่อ อย่างไรก็ตาม จุดเด่นของแผ่นเซรามิกไม่ได้อยู่ที่ความเร็วในการนำความร้อน แต่ที่คุณสมบัติพิเศษอื่น ๆ เช่น การกระจายความร้อนได้สม่ำเสมอและทนทานต่อการกัดกร่อนจากสารเคมี ข้อดี: ทนทานต่อสารเคมีและการกัดกร่อน เหมาะสำหรับการใช้งานในห้องปฏิบัติการที่มีการใช้สารเคมี เนื่องจากพื้นผิวเซรามิกสามารถทนต่อการกัดกร่อนได้ดี กระจายความร้อนสม่ำเสมอ ความร้อนจะถูกกระจายไปทั่วแผ่นได้อย่างสม่ำเสมอ ทำให้อุณหภูมิคงที่ในบริเวณที่ใช้ รักษาความร้อนได้ดี เมื่อถึงอุณหภูมิที่ต้องการ แผ่นเซรามิกสามารถรักษาอุณหภูมิได้เป็นเวลานาน ช่วยประหยัดพลังงานในการใช้งาน ทำความสะอาดง่าย พื้นผิวเรียบมัน ทำให้การทำความสะอาดง่ายและป้องกันคราบสกปรกได้ดี ข้อเสีย: นำความร้อนได้ช้ากว่าแผ่นอื่น ๆ แผ่นเซรามิกใช้เวลานานในการนำความร้อนเมื่อเทียบกับแผ่นอลูมิเนียมหรือแผ่นเหล็กหล่อ แตกหักง่าย แผ่นเซรามิกมีโอกาสแตกหักหรือเสียหายได้ง่ายหากมีการกระแทกแรง ๆ ไม่เหมาะกับงานที่ต้องการความร้อนสูงและเร็ว สำหรับงานที่ต้องการความร้อนที่สูงในเวลาสั้น ๆ อาจไม่เหมาะเท่าไหร่ เนื่องจากเซรามิกมีอัตราการนำความร้อนที่ช้ากว่า ดังนั้น แผ่นเซรามิกจะเหมาะสำหรับงานที่ต้องการความแม่นยำและความทนทานต่อสารเคมีมากกว่า 2.แผ่นอลูมิเนียม (Aluminum Plate) เป็นหนึ่งในวัสดุยอดนิยมที่ใช้กับ hotplate เนื่องจากคุณสมบัติในการนำความร้อนได้ดี แต่มีข้อดีและข้อเสียดังนี้: ข้อดี: นำความร้อนได้รวดเร็ว: อลูมิเนียมเป็นวัสดุนำความร้อนที่ดีมาก ทำให้ร้อนเร็วและเหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการความร้อนเร็ว น้ำหนักเบา: […]
เครื่องล้างอัลตราโซนิก (Ultrasonic)
คลื่นเสียงอัลตราโซนิกเป็นคลื่นเสียงความถี่สูงมากกว่า 20 กิโลเฮิร์ต จนถึง 106 กิโลเฮิร์ต ซึ่งเป็นช่วงความถี่ที่หูของคนปกติไม่สามารถได้ยิน เพราะหูของคนปกติได้ยินสียงในช่วงความถี่ 16 – 16,000 เฮิร์ต คลื่นเสียงอัลตราโวนิกที่มีความแรงมากจะทำให้เกิดฟองอากาศ เกิดความดันสูง และเกิดความร้อนเฉพาะที่ ซึ่งเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยา สำหรับผลทางเคมีพบว่าทำให้เกิดการออกซิเดชัน การสลายตัว การเปล่งแสง การเกิดผลึก ฯลฯ ส่วนผลทางฟิสิกส์ มักเป็นผลรวมทางตรงหรือทางอ้อมที่เกิดจากผลทางเคมีและผลทางชีววิทยา คลื่นเสียงอัลตราโซนิกเป็นคลื่นเสียงที่ค่อนข้างปลอดภัย ไม่ก่อมลภาวะ มีราคาถูก และมีคุณสมบัติที่หลากหลายขึ้นอยู่กับความถี่ ทำให้คลื่นเสียงอัลตราโซนิกถูกนำมาประยุกต์ใช้งานมากมาย ทั้งในด้านการแพทย์ ด้านการสื่อสาร ด้านอุตสาหกรรม รวมทั้งใช้ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากในปัจจุบันเครื่องล้างอัลตราโซนิกถูกนำมาใช้ในห้องปฏิบัติการอย่างแพร่หลาย เพราะเครื่องมือมีราคาถูกลง และในเชิงวิชาการมีข้อดีกว่าการล้างด้วยมืออยู่หลายประการ คือ 1. มีประสิทธิภาพในการล้างสูง 2. เหมาะสมสำหรับการล้างสิ่งของขนาดเล็กที่มีซอกหรือรูเล็ก ๆ 3. เหมาะสมสำหรับล้างอุปกรณ์ที่แตกหักหรือเป็นรอยขีดข่วนได้ง่าย 4. สามารถฆ่าเชื้อโรคบางชนิด 5. ช่วยรักษาสภาพแวดล้อม หลักการทำความสะอาด คลื่นเสียงอัลตราโซนิกทำให้เกิดและสลายฟองอากาศขนาดเล็ก จำนวนมากอย่างรวดเร็ว เรียกกระบวนการนี้ว่า cavitation ฟองอากาศที่เกิดขึ้นมีขนาดแตกต่างกัน […]
เครื่องวัดการดูดกลืนแสง (Spectrophotometer)
เครื่องวัดการดูดกลืนแสงใช้หาปริมาณสารใดสารหนึ่ง โดยวิธีการวัดความเข้มของสี หรือการวัดความเข้มของแสง โดยการเปรียบเทียบกับสารละลายมาตรฐานที่ทราบค่า เครื่องวัดความเข้มของแสง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ การวัดแสงที่เปล่งออกมา การวัดแสงที่ถูกดูดกลืน และการวัดแสงฟลูออเรสเซนซ์ที่เปล่งออกมา เครื่องวัดการดูดกลืนแสงและเครื่องวัดแสงฟลูออเรสเซนซ์ มีองค์ประกอบที่คล้ายกันแต่ตำแหน่งการวางอุปกรณ์ต่างกัน การทำงานของเครื่องวัดการดูดกลืนแสง เครื่องวัดการดูดกลืนแสง (Spectrophotometer) ทำงานโดยการวัดปริมาณแสงที่ถูกดูดกลืนโดยสารละลายหรือสารตัวอย่างในช่วงความยาวคลื่นที่กำหนด โดยกระบวนการทำงานของเครื่องวัดการดูดกลืนแสงสามารถแบ่งออกเป็นขั้นตอนหลักๆ ดังนี้: แหล่งกำเนิดแสง (Light Source) เครื่องจะมีแหล่งกำเนิดแสง ซึ่งอาจเป็นหลอดไฟที่ปล่อยแสงในช่วงต่างๆ เช่น แสง UV (อัลตราไวโอเลต) หรือแสงที่มองเห็น (Visible light) ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการวัดที่ต้องการ โดยแสงนี้จะส่องไปที่ตัวอย่างผ่านระบบแสงที่มีความยาวคลื่นที่ต้องการ การเลือกความยาวคลื่น (Monochromator) แสงที่ถูกส่งออกมาจากแหล่งกำเนิดจะถูกส่งผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า โมโนโครมาทอร์ (Monochromator) ซึ่งทำหน้าที่เลือกแสงที่มีความยาวคลื่นเฉพาะเจาะจงที่ต้องการวัด เช่น ความยาวคลื่นที่สารในตัวอย่างสามารถดูดกลืนได้มากที่สุด การส่องผ่านตัวอย่าง (Sample Cell) แสงที่ถูกเลือกจะถูกส่งผ่านตัวอย่างที่บรรจุในหลอดคิวเวต (Cuvette) ซึ่งเป็นหลอดใสทำจากวัสดุเช่นแก้วหรือพลาสติกชนิดพิเศษ ตัวอย่างนี้อาจเป็นสารละลายที่มีสารเคมีเจือปนหรือสารตัวอย่างที่ต้องการวิเคราะห์ การวัดความเข้มแสง (Detector) เมื่อแสงส่องผ่านตัวอย่าง […]
Swing-out rotor และ fixed-angle rotor ใน Centrifuge
Swing-out rotor และ fixed-angle rotor ใน centrifuge ต่างกันอย่างไร? และการใช้งานแบบไหนที่เหมาะสมกับ swing-out rotor แบบไหนเหมาะสมกับ fixed-angle rotor. Fixed-angel rotor Swing-out rotor Fixed-Angel rotor (โรเตอร์แบบมุมคงที่) ลักษณะการทำงาน โรเตอร์ชนิดนี้มีหลอดตัวอย่างที่ติดตั้งในมุมคงที่ (เช่น 25° หรือ 45°) เมื่อหมุน หลอดตัวอย่างจะยังคงอยู่ในมุมเดิม ทำให้เกิดการสะสมของตะกอนที่ด้านข้างและด้านล่างของหลอด การใช้งานที่เหมาะสม เหมาะสำหรับการแยกสารที่ต้องการประสิทธิภาพการแยกสูงและรวดเร็ว เช่น การแยกเซลล์หรืออนุภาคขนาดเล็กในเวลาอันสั้น เหมาะกับการเก็บสะสมตะกอน (pellet) ในกระบวนการที่ไม่ต้องการการแยกเป็นชั้นที่ละเอียดมาก เช่น การสกัดโปรตีนหรือการเก็บเซลล์แบคทีเรีย ข้อดี สามารถใช้งานได้ที่ความเร็วสูงมาก เหมาะสำหรับการตกตะกอนอย่างรวดเร็ว ลดเวลาการปั่นเหวี่ยงลงเมื่อเปรียบเทียบกับ swing-out rotor ข้อเสีย การแยกชั้นอาจไม่ชัดเจนเท่ากับ swing-out rotor เนื่องจากตัวอย่างจะไม่กระจายในแนวนอน […]
เครื่องหมุนเหวี่ยง (Centrifuge)
เครื่องหมุนเหวี่ยง เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับเร่งอัตราการตกตะกอนของอนุภาค(particle)ที่ไม่ละลายออกจากของเหลว หรือใช้แยกของเหลวหลาย ๆ ชนิดที่มีความถ่วงจำเพาะ ต่างกันออกจากกัน ใช้ทำสารละลายให้เข้มข้นขึ้น ใช้วิคราะห์ชนิดของสาร หาน้ำหนักโมเลกุลของสารได้โดยอาศัยคุณสมบัติของตัวกลาง คุณสมบัติของอนุภาคที่แตกต่างกัน และการสร้างแรงหนีศูนย์กลางที่เกิดจากการหมุนรอบจุดหมุน ในความเร็วรอบที่สูงมาก ชนิดของเครื่องหมุนเหวี่ยง เครื่องหมุนเหวี่ยงความเร็วรอบต่ำ มีความเร็วรอบไม่เกิน 6,000 รอบต่อนาที มีแรงหนีศูนย์กลางสูงสุดในช่วง 1,800 – 7,000 g เครื่องหมุนเหวี่ยงความเร็วรอบสูง มีความเร็วรอบไม่เกิน 28,000 รอบต่อนาที มีแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางสูงสุดถึง 80,000 g เครื่องหมุนเหวี่ยงความเร็วรอบสูงมาก มีความเร็วรอบของการหมุนสูงถึง 150,000 รอบค่อนาที สามารถสร้างแรงหนีศูนย์กลางได้สูงถึง 800,000 g เครื่องหมุนเหวี่ยงชนิดนี้สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น 2 ชนิด คือ 3.1 แบบวิเคราะห์ 3.2 แบบเตรียมสาร องค์ประกอบและคุณสมบัติ 1. ตัวถัง มีองค์ประกอบย่อยอีก คือ 1.1 […]
เครื่องกวนสารละลายและให้ความร้อน (Hotplate Stirrer)
เครื่องให้ความร้อนเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ความร้อนกับตัวอย่างสารละลายให้มีระดับอุณหภูมิที่เป็นหนึ่งเดียวกัน ส่วนเครื่องกวนสารละลาย ใช้สำหรับกวนสารละลาย ทำงานโดยให้กำเนิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจากด้านล่างของแผ่นจานของเครื่อง สารละลายในภาชนะจะถูกกวนโดยแท่งแม่เหล็กกวน ที่ใส่อยู่ในสารละลาย เมื่อแท่งแม่เหล็กเกิดการหมุนจากสนามแม่เหล็ก ก็จะทำให้สารละลายเกิดเป็นน้ำหมุนวนซึ่งทำให้เกิดการกวนขึ้น ส่วนเครื่องกวนสารละลายและให้ความร้อน คือเครื่องที่สามารถให้ความร้อนและกวนสารละลายได้ในเครื่องเดียวกัน ส่วนประกอบของเครื่องกวนสารละลายและให้ความร้อน 1.จานให้ความร้อน เป็นส่วนที่ทำหน้าที่เป็นฐานรองภาชนะ และเป็นส่วนที่ส่งผ่านความร้อนเข้าสู่ภาชนะ จานให้ความร้อนทำจากวัสดุที่แตกต่างกันหลายชนิด ซึ่งวัสดุที่นิยมนำมาใช้ทำส่วนของจานมีดังนี้จานให้ความร้อนชนิดโลหะ เช่น อลูมิเนียม สแตนเลสสตีล หรือ เหล็ก เป็นวัสดุที่ทำให้เกิดความร้อนได้อย่างรวดเร็ว สามารถเก็บและกระจายความร้อนได้เป็นอย่างดี อลูมิเนียมเป็นวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย แต่มีข้อเสียคือ ไม่ทนต่อสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อนจานให้ความร้อนชนิดเซรามิก และอีนาเมล เป็นวัสดุทำจานให้ความร้อนที่มีความทนทานต่อสารเคมี และทนต่ออุณหภูมิสูงได้ ทำความสะอาดง่าย ทนต่อสารกัดกร่อน แต่มีข้อเสียคือ เก็บและส่งผ่านความร้อนไปที่บริเวณขอบไม่ดีนัก เปราะ และแตกง่าย ฮีตเตอร์ที่นิยมใช้ใน hotplate1.แบบแผ่น เหมาะกับจานให้ความร้อนขนาดใหญ่ แผ่นด้านนอกทำจากสแตนเลสโดยมีลวดความร้อนรัดอยู่ในแกนแผ่นไมก้า2.แบบขดลวด เหมาะกับงานให้ความร้อนขนาดเล็ก ลวดความร้อน จะอยู่ในท่อสแตนเลส ดัดโค้งตามรูปทรงที่ต้องการ คุณลักษณะ […]
ตู้อบลมร้อน (Hot air oven)
ใช้สำหรับการอบวัสดุและอุปกรณ์ ต่าง ๆ ให้แห้ง ใช้รักษาอุณหภูมิของปฏิกิริยาในการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการบางชนิดให้คงที่ ใช้อบฆ่าทำลายเชื้อโรค ใช้อบเพาะเชื้อจุลชีพ ใช้เผาตัวอย่างให้เป็นเถ้า เพื่อการนำไปวิเคราะห์ด้วยเครื่องวัดการดูดกลืนแสงของอะตอม ใช้หาความชื้นในตัวอย่าง ใช้เผากากกัมมันตรังสี ฯลฯ. หลักการทำงาน ความร้อนจากแหล่งกำเนิดความร้อนถูกถ่ายเทให้วัตถุ โดยกระบวนการนำความร้อน การพาความร้อน และการแผ่รังสี ความร้อนที่ถูกควบคุมอย่างเหมาะสมด้วยตัวไวความร้อนและระบบควบคุมอุณหภูมิ ทำให้วัตถุเกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว จากของเหลวเป็นไอ หรือจากของแข็งเป็นไอ ชนิดและองค์ประกอบ ตู้อบลมร้อนมีหลายแบบมีชื่อเรียกแตกต่างกันตามอุณหภูมิใช้งานของตู้อบลมร้อน โดยเรียกตู้อบที่ให้อุณหภูมิได้สูงถึง 3,000 ℃ ว่า “เตาเผา” เรียกตู้อบที่ให้อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 300 ℃ ว่า “ตู้อบแห้ง” หรือ “ตู้อบฆ่าเชื้อ” และเรียกตู้อบที่มีอุณหภูมิสูงสุดประมาณ 100 ℃ ว่า “ตู้เพาะเชื้อ” ตู้อบลมร้อนมีองค์ประกอบหลักดังนี้ 1. ผนังตู้อบ 2. ตัวกำเนิดความร้อน 3. ช่องระบายความร้อน 4. ระบบถ่ายเทความร้อนที่นิยมใช้มีอยู่ 2 แบบ คือ […]
เครื่องวัดพีเอช (pH Meter)
งานบางชนิดต้องการความถูกต้องของค่าพีเอชถึง ±0.001 หน่วย แต่การวัดพีเอชโดยใช้สารเปลี่ยนสี จะมีความผิดพลาดจากการเทียบสี และสีผิดเพี้ยนจากสีที่เจือปนจากสารละลายที่วัดพีเอช ทำให้มีความผิดพลาดในการอ่านค่าตั้งแต่ 1.5-2.0 หน่วย จึงไม่เหมาะสมกับงานที่ต้องการความถูกต้องของพีเอชสูง ดังนั้นการวัดค่าพีเอชที่ถูกต้อง จึงต้องอาศัยเครื่องวัดพีเอชซึ่งมีความผิดพลาดน้อยกว่า เพราะพีเอชมีค่าเท่ากับลบล็อกของความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออน การเปลี่ยนแปลงค่าพีเอช 1 หน่วย จึงเท่ากับการเปลี่ยนแปลงของไฮโดรเจนไอออนถึง 10 หน่วย นอกจากนี้ระบบการอ่านค่าของเครื่องวัดพีเอช ยังสามารถปรับให้อ่านได้ละเอียดถึง 0.001 หน่วย หลักการวัดพีเอช เครื่องวัดพีเอช อาศัยหลักการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้า ที่เกิดขึ้นระหว่างเล็กโทรดวัด ซึ่งจุ่มอยู่ในสารละลาย แล้วเปลี่ยนค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าให้เป็นค่าพีเอชโดยการเทียบค่ากับบัฟเฟอร์มาตรฐาน การคำนวณค่าพีเอชดัดแปลงมาจากสมการของเนินสต์ ซึ่งหาค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าของเซลล์ไฟฟ้าใด ๆ โดยการวัดเทียบกับไฮโดรเจนอิเล็กโทรด ซึ่งกำหนดให้มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าเท่ากับ 0.0000 โวลต์ ที่ 25 ℃ ในทางปฏิบัติไม่นิยมใช้ไฮโดรเจนอิเล็กโทรดเป็นอิเล็กโทรดอ้างอิง สำหรับการหาค่าพีเอช เพราะไฮโดรเจนอิเล็กโทรดมีขนาดใหญ่ไม่สะดวกต่อการใช้งาน ดังนั้น National Bureau of Standard (NBS) จึงกำหนดค่าพีเอชของบัฟเฟอร์มาตรฐานขึ้นมาใช้ โดยการวัดค่าพีเอชของบัฟเฟอร์มาตรฐานด้วยอิเล็กโทรดวัดชนิด Ag/AgCl เปรียบเทียบกับไฮโดรเจนอิเล็กโทรดเมื่อไม่ใช้รอยต่อระหว่างของเหลว […]
เครื่องชั่งและการประเมินผลการสอบเทียบเครื่องชั่ง
เครื่องชั่งเป็นเครื่องมือที่จำเป็นในห้องปฏิบัติการ เพราะการวิเคราะห์ส่วนใหญ่เป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ที่ต้องอาศัยเครื่องชั่งช่วยในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับสารมาตรฐานที่ต้องทราบปริมาณหรือความเข้มข้นที่แน่นอน ชนิดของเครื่องชั่ง 1. เครื่องชั่งแบบคานชั่งยาวเท่ากัน2. เครื่องชั่งแบบ 3 คานชั่ง3. เครื่องชั่งแบบแทนที่น้ำหนักมาตรฐาน4. เครื่องชั่งแบบจานชั่งอยู่ด้านบน5. เครื่องชั่งแบบอิเล็กทรอนิกส์ การเลือก ช่วงการชั่งและความถูกต้อง ควรเลือกให้เหมาะสมกับงานส่วนใหญ่ของห้องปฏิบัติการ มีประสิทธิภาพในการชั่งซ้ำดี ตัวเครื่องชั่งแข็งแรง สามารถป้องกันฝุ่นละอองและความร้อนได้ดี ใช้และบำรุงรักษาง่าย มีระบบป้องกันการเสียหายเมื่อรับน้ำหนักมากเกิน เครื่องชั่งอิเล็กทรอนิกส์ ควรมีระบบเสริมประสิทธิภาพในการชั่งสาร ข้อควรปฏิบัติในการใช้เครื่องชั่ง วางเครื่องชั่งในบริเวณที่แยกจากเครื่องมืออื่น ๆ บนโต๊ะที่มีการสั่นสะเทือนน้อย ควรอยู่ในบริเวณที่ไม่มีการเดินพลุกพล่าน มีแสงสว่างพอเพียง ไม่ควรตั้งชิดหน้าต่าง เพราะอาจถูกฝนหรือความร้อนจากแสงแดด ควรติดตั้งเครื่องควบคุมกระแสไฟฟ้า เพิ่มเติมให้กับเครื่องชั่งแบบอิเล็กทรอนิกส์ ห้ามวางวัตถุที่จะชั่งลงบนจานชั่งโดยตรง โดยเฉพาะวัตถุที่เป็นของเหลวหรือเปียกชื้น ไม่ควรใช้มือเปล่าจับตุ้มน้ำหนักมาตรฐาน การชั่งสารเคมีที่สามารถกัดกร่อนโลหะ และสารประกอบของไซยาไนด์ ควรใส่ในขวดชั่งสารเคมีที่มีฝาปิดมิดชิด ควรทำความสะอาดทันทีเมื่อเครื่องชั่งสกปรก การบำรุงรักษา การทำความสะอาด การตรวจสอบความสามารถสูงสุดในการชั่ง การตรวจสอบประสิทธิภาพในการชั่งซ้ำ การทดสอบผลของการวางน้ำหนักที่ตำแหน่งต่าง ๆ บนจานชั่ง การทดสอบการเปลี่ยนค่า การทดสอบความเป็นเส้นตรงของการชั่ง ปัจจัยที่ทำให้การชั่งน้ำหนักผิดพลาด […]
Cell Culture
Cell culture refers to the removal of cells from an animal or plant and subsequent cultivation in an artificial environment for scientific research. Today, it is a fundamental tool used in laboratories around the world for studying the normal physiology and biochemistry of cells, mechanisms underlying disease, including cancer, and effects of drugs […]