การวิเคราะห์คุณภาพน้ำทางเคมี

การวิเคราะห์คุณภาพน้ำทางเคมี

1.วิธีวิเคราะห์ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำโดยวิธี Azide Modification of Iodometric Method

                1.1 ล้างขวด BOD ด้วยน้ำตัวอย่าง 2-3 ครั้ง
                1.2 เก็บน้ำตัวอย่างใส่ลงในขวด BOD ที่ระดับความลึกประมาณ 30 เซนติเมตร โดยระวังไม่ให้มีฟองอากาศและปิดฝาขวดให้สนิทขณะอยู่ในน้ำ
                1.3 เติมสารละลาย Manganous sulface (MsSO4) 1 ml และ Alkali-iodide-azide reagent (AIA) 1ml. ปิดจุกขวดอย่าให้มีฟองอากาศ เขย่า ตั้งทิ้งไว้ให้มีตะกอน 2 ใน 3 ของสารละลายในขวด
                1.4 เติม Sulfuric acid (H2SO4) 1 ml. ปิดจุกเขย่าให้ตะกอนละลายจนหมด
                1.5 นำน้ำตัวอย่างจากขวด BOD มา 100 ml. ไตเตรทด้วย Sodiumthiosulfate (Na2S2O3) 0.02 M จนได้สีเหลืองจาง ๆ แล้วหยดน้ำแป้ง 3 หยด เขย่าให้เข้ากัน แล้วไตเตรทต่อไปจนสีน้ำเงินจางหายไป บันทึกปริมาตรของ Sodiumthiosulface (Na2S2O3) ที่ใช้ไปแล้ว
                     คำนวณค่าตามสูตร
                                                DO (mg/l) = ปริมาตร Na2S2O3 ที่ใช้ × 2

2.วิธีวิเคราะห์ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ต้องการในการย่อยสลายสารอินทรีย์โดยวิธี Azide Modification of Iodometric Method

                2.1 ล้างขวด BOD ชนิดขวดดำด้วยน้ำตัวอย่าง 2.3 ครั้ง
                2.2 เก็บตัวอย่างน้ำใส่ขวด BOD ดำ ที่ระดับความลึกประมาณ 30 เซนติเมตร โดยระวังไม่ให้มีฟองอากาศและปิดฝาขวดให้สนิทขณะอยู่ในน้ำ
                2.3 นำขวด BOD ดำที่เก็บน้ำตัวอย่างไปใส่ตู้ Incubator ที่อุณหภูมิ 20 ℃ เป็นเวาลา 5 วัน
                2.4 เติมสารละลาย Sulfuric acid (MnSO4) 1 ml. และ Alkali-iodide-azide regent (AIA) 1 ml. ปิดจุกขวดอย่าให้มีฟองอากาศ เขย่า ตั้งทิ้งไว้ให้มีตะกอน 2 ใน 3 ของสารละลายในขวด
                2.5 เติม Sulfuric acid (H2SO4) 1 ml. ปิดจุกเขย่าให้ตะกอนละลายจนหมด
                2.6 นำน้ำตัวอย่างจากขวด BOD มา 100 ml. ไตเตรทด้วย Sodiumthiosulfate (Na2S2O3) 0.02 M จนได้สีเหลืองจาง ๆ แล้วหยดน้ำแป้ง 3 หยด เขย่าให้เข้ากัน แล้วไตเตรทต่อไปจนสีน้ำเงินจางหายไป บันทึกปริมาตรของ Soddiumthiosulfate (Na2S2O3) ที่ใช้แล้ว
                     คำนวณค่าตามสูตร
                                                DO (mg/l) = ค่า DO ในวันแรก – (ปริมาตร Na2S2O3 ที่ใช้ × 2)

3.วิธีวิเคราะห์ความเป็นด่างของน้ำโดยวิธี phenolphthalein methyl orange indicator

                3.1 ตวงน้ำตัวอย่าง 100 ml. ใส่ใน flask ขนาด 250 ml.
                3.2 เติม phenolphthalein indicator 3 หยด ลงใน flask เขย่าให้เข้ากัน
                3.3 เติม methyl orange indicator 3 หยด ลงใน flask เขย่าให้เข้ากัน
                3.4 ไตเตรทด้วย 0.02 N H2SO4 จนได้จุดยุติเป็นสีส้มแดง บันทึกปริมาตร H2SO4 ที่ใช้
                3.5 คำนวณตามสูตร
                                Total alkalinity (mg.l-1 as CaCO3) = ปริมาตร H2SO4 ที่ใช้ × 10

การวิเคราะห์ปริมาณสารอาหาร

1. วิธีวิเคราะห์ปริมาณแอมโมเนียไนโตรเจน (Ammonia nitrogen)

                1.1 กรองน้ำตัวอย่างด้วยกระดาษกรอง GF/C แล้วตวงตัวอย่างปริมาตร 25 ml. ใส่ flask ขนาด 150 ml. และตวงน้ำ deionized ปริมาตร 25 ml. ใส่ใน flask 150 ml.
                1.2 เปิดเครื่อง Spectrophotometer DR/2400 หลังจากเครื่องมือผ่านขั้นตอน SELF-TEST แล้วเครื่องจะแสดง Method ให้กด 380 Read/Enter เครื่องมือจะแสดงความยาวคลื่น 425 nm. ปรับความยาวคลื่นไปที่ 425 nm. จากนั้นกด Read/Enter เครื่องมือจะแสดง mg.l-1 NH3 Ness
                1.3 หยด mineral stabilizer 3 หยด ลงไปในน้ำตัวอย่าง และ blank เขย่าเบา ๆ จากนั้นเติม polyvinyl alcohol dispersing agent 3 หยด เขย่าเบา ๆ ให้สารเคมีผสมกัน
                1.4 เติม Nessler reagent 1 ml. เขย่าให้สารเคมีเข้ากัน
                1.5 กด SHIFT TIMER เพื่อตั้งเวลารอให้สารเคมีเกิดปฏิกิริยา เมื่อครบ 1 นาที เครื่องมือจะส่งเสียงเตือน
                1.6 รินน้ำใน flask ที่เป็นน้ำ deionized ลงใน cuvette ใส่ลงไปในช่องวัดแสง ปิดฝา แล้วกด ZERO เครื่องมือจะแสดงข้อความ Wait และ 0.00 mg.l-1 NH3 NeSS
                1.7 เปลี่ยน cuvette เป็นน้ำตัวอย่าง กด ENTER เครื่องมือแสดงข้อความ Wait จากนั้นจะแสดงปริมาณแอมโมเนียไนโตรเจน ซึ่งเครื่องมือนี้สามารถวัดปริมาณแอมโมเนียได้ช่วง 0-2.5 mg.l-1 NH3

2. วิธีวิเคราะห์ปริมาณไนเตรทไนโตรเจน (Nitrate nitrogen)

                2.1 กรองน้ำตัวอย่างด้วย GF/C ตวงน้ำตัวอย่างปริมาตร 25 ml. ใส่ใน flask 150 ml.
                2.2 เปิดเครื่อง Spectrophotometer DR/2400 หลังจากเครื่องมือผ่านขั้นตอน SELF-TEST แล้วเครื่องจะแสดงข้อความ Selected Program ให้กดหมายเลข 355 แล้วกด Read/Enter เครื่องมือจะแสดงความยาวคลื่น 500 nm. ปรับความยาวคลื่นไปที่ 500 nm. จากนั้นกด Read/Enter เครื่องมือจะแสดง mg.l-1 P PO3-4 PV
                2.3 ใส่ Nitra Ver 5 Nitrate Reagent Powder Pillow กด SHIFT TIMER แล้วเขย่า flask เมื่อครบ 1 นาที เครื่องมือจะส่งเสียงเตือนให้หยุดเขย่า กด SHIFT TIMER อีกครั้งและตั้ง flask ทิ้งไว้เมื่อครบ 5 นาที เครื่องมือจะส่งเสียงเตือนอีกครั้งและแสดง mg.l-1 NO3N
                2.4 เปิดฝาเครื่องมือใส่น้ำตัวอย่างที่ไม่ได้เติมสารใด ๆ ลงในช่องวัดแสง ปิดฝาเครื่องให้สนิท กด ZERO เครื่องมือแสดง Wait และ 0.00 mg.l-1 NO3N ให้เปลี่ยน cuvette ที่ใส่ Nitra Ver 3 Nitrate Reagent Power Pillow เข้าไป กด READ/ENTER เครื่องมือแสดง Wait และบอกปริมาณไนเตรทไนโตรเจนได้ในช่วง 0.00-30.0 mg.l-1 NO3N

3.วิธีวิเคราะห์ปริมาณออร์โธฟอสเฟต (Orthophosphate) หรือ Soluble Reactive Phosphorus (SRP)

               3.1 ก่อนทำการวิเคราะห์ SRP ทุงครั้งควรล้างเครื่องแก้วที่จะใช้ด้วย HCI 10% กรองน้ำตัวอย่างด้วย GF/C ตวงน้ำตัวอย่างปริมาตร 25 ml. ใส่ใน flask 150 ml. แล้วใส่ PhosVer 3 Phosphate Reagent Powder Pillow อีก flask หนึ่งเอาไว้เปรียบเทียบไม่ต้องเติมสารใด ๆ
               3.2 เปิดเครื่อง Spectrophotometer DR/2400  หลังจาเครื่องมือผ่านขั้นตอน SELF-TEST แลวเครื่องจะแสดง Method ให้กดหมายเลข 890 แล้วกด Read/Enter เครื่องมือจะแสดงความยาวคลื่น 890 nm. ปรับความยาวคลื่นไปที่ 890 nm. จากนั้นกด Read/Enter เครื่องมือจะแสดง mg.l-1 PO3-4
                3.3 เขย่า flask แรกที่เติม Phos Ver 3 Phosphate Reagent Powder Pillow ลงไป กด SHIFT TIMER แล้วเขย่า flask เมื่อครบ 1 นาที เครื่องมือจะส่งเสียงเตือน
                3.4 เปิดฝาเครื่องมือใส่น้ำตัวอย่างที่ไม่ได้เติมสารใด ๆ ลงในช่องวัดแสง ปิดฝาเครื่องมือให้สนิด กด ZERO เครื่องมือแสดง Wait และบอกปริมาณออร์โธฟอสเฟต ซึ่งเครื่องมือนี้สามารถวัดปริมาณออร์โธฟอสเฟตได้ในช่วง 0.00-0.25 mg.l1 PO3-4