เครื่องวัดการดูดกลืนแสง (Spectrophotometer)
เครื่องวัดการดูดกลืนแสงใช้หาปริมาณสารใดสารหนึ่ง โดยวิธีการวัดความเข้มของสี หรือการวัดความเข้มของแสง โดยการเปรียบเทียบกับสารละลายมาตรฐานที่ทราบค่า เครื่องวัดความเข้มของแสง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ การวัดแสงที่เปล่งออกมา การวัดแสงที่ถูกดูดกลืน และการวัดแสงฟลูออเรสเซนซ์ที่เปล่งออกมา เครื่องวัดการดูดกลืนแสงและเครื่องวัดแสงฟลูออเรสเซนซ์ มีองค์ประกอบที่คล้ายกันแต่ตำแหน่งการวางอุปกรณ์ต่างกัน การทำงานของเครื่องวัดการดูดกลืนแสง เครื่องวัดการดูดกลืนแสง (Spectrophotometer) ทำงานโดยการวัดปริมาณแสงที่ถูกดูดกลืนโดยสารละลายหรือสารตัวอย่างในช่วงความยาวคลื่นที่กำหนด โดยกระบวนการทำงานของเครื่องวัดการดูดกลืนแสงสามารถแบ่งออกเป็นขั้นตอนหลักๆ ดังนี้: แหล่งกำเนิดแสง (Light Source) เครื่องจะมีแหล่งกำเนิดแสง ซึ่งอาจเป็นหลอดไฟที่ปล่อยแสงในช่วงต่างๆ เช่น แสง UV (อัลตราไวโอเลต) หรือแสงที่มองเห็น (Visible light) ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการวัดที่ต้องการ โดยแสงนี้จะส่องไปที่ตัวอย่างผ่านระบบแสงที่มีความยาวคลื่นที่ต้องการ การเลือกความยาวคลื่น (Monochromator) แสงที่ถูกส่งออกมาจากแหล่งกำเนิดจะถูกส่งผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า โมโนโครมาทอร์ (Monochromator) ซึ่งทำหน้าที่เลือกแสงที่มีความยาวคลื่นเฉพาะเจาะจงที่ต้องการวัด เช่น ความยาวคลื่นที่สารในตัวอย่างสามารถดูดกลืนได้มากที่สุด การส่องผ่านตัวอย่าง (Sample Cell) แสงที่ถูกเลือกจะถูกส่งผ่านตัวอย่างที่บรรจุในหลอดคิวเวต (Cuvette) ซึ่งเป็นหลอดใสทำจากวัสดุเช่นแก้วหรือพลาสติกชนิดพิเศษ ตัวอย่างนี้อาจเป็นสารละลายที่มีสารเคมีเจือปนหรือสารตัวอย่างที่ต้องการวิเคราะห์ การวัดความเข้มแสง (Detector) เมื่อแสงส่องผ่านตัวอย่าง […]
Swing-out rotor และ fixed-angle rotor ใน Centrifuge
Swing-out rotor และ fixed-angle rotor ใน centrifuge ต่างกันอย่างไร? และการใช้งานแบบไหนที่เหมาะสมกับ swing-out rotor แบบไหนเหมาะสมกับ fixed-angle rotor. Fixed-angel rotor Swing-out rotor Fixed-Angel rotor (โรเตอร์แบบมุมคงที่) ลักษณะการทำงาน โรเตอร์ชนิดนี้มีหลอดตัวอย่างที่ติดตั้งในมุมคงที่ (เช่น 25° หรือ 45°) เมื่อหมุน หลอดตัวอย่างจะยังคงอยู่ในมุมเดิม ทำให้เกิดการสะสมของตะกอนที่ด้านข้างและด้านล่างของหลอด การใช้งานที่เหมาะสม เหมาะสำหรับการแยกสารที่ต้องการประสิทธิภาพการแยกสูงและรวดเร็ว เช่น การแยกเซลล์หรืออนุภาคขนาดเล็กในเวลาอันสั้น เหมาะกับการเก็บสะสมตะกอน (pellet) ในกระบวนการที่ไม่ต้องการการแยกเป็นชั้นที่ละเอียดมาก เช่น การสกัดโปรตีนหรือการเก็บเซลล์แบคทีเรีย ข้อดี สามารถใช้งานได้ที่ความเร็วสูงมาก เหมาะสำหรับการตกตะกอนอย่างรวดเร็ว ลดเวลาการปั่นเหวี่ยงลงเมื่อเปรียบเทียบกับ swing-out rotor ข้อเสีย การแยกชั้นอาจไม่ชัดเจนเท่ากับ swing-out rotor เนื่องจากตัวอย่างจะไม่กระจายในแนวนอน […]
เครื่องหมุนเหวี่ยง (Centrifuge)
เครื่องหมุนเหวี่ยง เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับเร่งอัตราการตกตะกอนของอนุภาค(particle)ที่ไม่ละลายออกจากของเหลว หรือใช้แยกของเหลวหลาย ๆ ชนิดที่มีความถ่วงจำเพาะ ต่างกันออกจากกัน ใช้ทำสารละลายให้เข้มข้นขึ้น ใช้วิคราะห์ชนิดของสาร หาน้ำหนักโมเลกุลของสารได้โดยอาศัยคุณสมบัติของตัวกลาง คุณสมบัติของอนุภาคที่แตกต่างกัน และการสร้างแรงหนีศูนย์กลางที่เกิดจากการหมุนรอบจุดหมุน ในความเร็วรอบที่สูงมาก ชนิดของเครื่องหมุนเหวี่ยง เครื่องหมุนเหวี่ยงความเร็วรอบต่ำ มีความเร็วรอบไม่เกิน 6,000 รอบต่อนาที มีแรงหนีศูนย์กลางสูงสุดในช่วง 1,800 – 7,000 g เครื่องหมุนเหวี่ยงความเร็วรอบสูง มีความเร็วรอบไม่เกิน 28,000 รอบต่อนาที มีแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางสูงสุดถึง 80,000 g เครื่องหมุนเหวี่ยงความเร็วรอบสูงมาก มีความเร็วรอบของการหมุนสูงถึง 150,000 รอบค่อนาที สามารถสร้างแรงหนีศูนย์กลางได้สูงถึง 800,000 g เครื่องหมุนเหวี่ยงชนิดนี้สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น 2 ชนิด คือ 3.1 แบบวิเคราะห์ 3.2 แบบเตรียมสาร องค์ประกอบและคุณสมบัติ 1. ตัวถัง มีองค์ประกอบย่อยอีก คือ 1.1 […]